การใช้ (WMA) กับกิจการอุตสาหกรรม

การใช้ Weighted moving average (WMA) กับกิจการอุตสาหกรรม สูตรการคิดต้นทุนสินค้าคงคลัง คือ

ต้นทุนสินค้าคงคลัง

ต้นทุนหรือจำนวนงวดที่ผ่านมา คือ การยกยอดมาจากงวดที่แล้ว
ต้นทุนหรือจำนวนสินค้าที่เข้าคงคลังงวดปัจจุบัน ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
  1. (เพิ่ม) ซื้อสินค้าเข้าคลัง   (ลด) นำสินค้าออกคลังเพื่อส่งคืน หรือ ส่วนลดที่ได้จากการซื้อ
  2. (เพิ่ม) ผลิตเข้าคลัง          (ลด) เบิกวัตถุดิบ
  3. (เพิ่ม)  ลูกค้าคืนสินค้า (ถ้าเคยบันทึกต้นทุนของสินค้าชิ้นนั้นตามงวดนั้นๆแล้ว ต้นทุนของสินค้าที่ลูกค้าคืนต้องบันทึกลงใน Weighted monthly average)        
  4. อื่นๆ  เช่น การเปลี่ยนสินค้า(ทั้งชุด หรือ บางส่วน) วัตถุดิบที่เบิกโดยแผนกต่างๆแล้วขอส่งกลับคืน ค่าต้นทุนที่กำหนดเอง การปรับจำนวนสินค้าคงคลัง เป็นต้น

Warehouse Management

การผลิตเข้าสินค้าคงคลังนอกจากต้นทุนวัตถุดิบแล้วยังรวมไปถึงค่าแรงและค่าใช้จ่ายอื่นๆตามจำนวนผลิต

ค่าแรง อ้างอิงจาก ใบเรียกเก็บค่าแรง ค่าล่าช้า ค่าเสื่อมสภาพ เงินเดือนพนักงาน และการเบิกใช้จากแต่ละแผนก เป็นต้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะถือเป็นค่าใช้จ่ายของแผนกที่เกี่ยวข้องทางตรงหรือทางอ้อมขึ้นอยู่กับการจัดสรรค่าใช้จ่าย และนี่คือเหตุผลที่กิจการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักเลือกใช้ Weighted monthly average cost   

ทุกๆสิ้นเดือนจะมีการคำนวณต้นทุนวัตถุดิบหนึ่งครั้ง โดยไม่เลือกใช้วิธี Weighted moving average(WMA) ก็เพราะว่า ค่าแรงและค่าใช้จ่ายอื่นๆมักจะทราบตัวเลขที่แท้จริงตอนสิ้นเดือน นอกจากนั้น weight share ที่ถูกจัดสรรไปยังใบคำสั่งต่างๆ ก็ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน

Weighted moving average(WMA) จะคำนวณจำนวนและต้นทุนคงเหลือคงคลังทุกครั้งที่มีการเบิกจ่ายหรือทำรับเข้าคงคลัง เพื่อคำนวณราคาเฉลี่ยต่อหน่วยใหม่แล้วนำมาใช้เป็นฐานการคำนวณสำหรับการคิดเมื่อมีการเบิกคงคลังในรอบถัดไป ทุกครั้งที่มีใบคำสั่งให้ทำรับสินค้าคงคลัง และไม่ได้รับค่าใช้จ่ายด้านค่าแรง หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆทันเวลา เมื่อเติมเข้าไปสำหรับการคำนวณ Weighted moving average(WMA) จะส่งผลให้ข้อมูลต้นทุนการผลิตคลาดเคลื่อน ดังนั้นเมื่อกิจการอุตสาหกรรมจะคำนวณ Weighted moving average(WMA) ต้องจัดการเรื่องการเบิกรับเขาสินค้าคงคลังให้เรียบร้อย และให้คำนวณค่าแรง ค่าใช้จ่ายอื่นๆลงใน moving cost ให้เรียบร้อย จึงจะสามารถทำข้อมูลต้นทุนได้อย่างครบถ้วน หลีกเลี่ยงปัญหากรณีข้อมูลต้นทุนคลาดเคลื่อน

ดังนั้น เมื่อต้องการใช้ Weighted moving average(WMA) เป็นฐานในการคำนวณ ให้พิจารณาถึงลักษณะของอุตสาหกรรม รวบรวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในอดีตและข้อมูลชั่วโมงการทำงานเป็นแม่แบบมาตรฐานสำหรับคำนวณค่าแรงและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทุกครั้งที่มีการทำรับเข้าสินค้าคงคลังให้บันทึกว่ามีการทำงานทันที แล้วนำข้อมูลชั่วโมงการทำงานและมาตรฐานการคำนวณชั่วโมงทำงานมาคำนวณจำนวนเงินค่าแรงสำหรับจำนวนที่ทำเข้าคงคลังในครั้งนั้นๆ พร้อมกับนำต้นทุนวัตถุดิบมาคำนวณร่วมกับการคำนวณต้นทุน Weighted moving average(WMA) ด้วย

เมื่อถึงสิ้นเดือนให้นำจำนวนเงินค่าแรงคาดการณ์ประจำเดือนนั้นมาเทียบกับจำนวนเงินค่าแรงที่เกิดขึ้นจริงในเดือนนั้น พร้อมจดบันทึกจำนวนเงินที่แตกต่างเพื่อนำไปปรับปรุงต่อไป ในขณะเดียวกันจำนวนที่เกิดขึ้นจริงพร้อมยอดเงินที่เบิกออกจากคงคลังให้นำยอดเงินที่ปรากฏผลต่างบันทึกลงในต้นทุนสินค้าขายหมวดอื่นๆตามสัดส่วน

นอกจากจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่อง weighted moving cost รับข้อมูลเรื่องยอดค่าแรง ค่าใช้จ่ายอื่นๆไม่ทันท่วงทีแล้ว ยังสามารถแก้ไขปัญหาค่าต่างของยอดเงินที่เกิดขึ้นจริงกับยอดเงินคาดการณ์ได้อีกด้วย และยังสามารถทำให้ตารางวิเคราะห์ต้นทุน(เช่น  ตารางสต็อกสินค้า ตารางต้นทุนการประกอบการ) สอดคล้องกัน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : 0633253640

หรือ 02-6863000 ต่อ 3042

Email: support@aresth.co.th