ERP ให้ความช่วยเหลือด้านใดแก่ผู้ประกอบการ?

      ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning "การบริหารทรัพยากรขององค์กร" ปัจจุบัน ERP ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในแวดวงอุตสาหกรรม เป็นการบริหารจัดการองค์กรให้มีการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลประโยชน์สูงสุด โดยการบันทึก รวบรวมข้อมูลต่างๆ เป็นชุดโมดูลแล้วใช้ซอฟต์แวร์เชื่อมโยงข้อมูลร่วมกัน ใช้สำหรับวิเคราะห์และตัดสินใจการบริหารจัดการ โมดูลที่ใช้บ่อยๆเช่น จัดซื้อ ผลิต ฝ่ายขาย คลังสินค้า บัญชี ต้นทุน และอื่นๆ เป็นต้น

ระบบ ERP จะช่วยในการดำเนินการและรวบรวมข้อมูลทรัพยากรต่างๆของแต่ละแผนก ตั้งแต่ขั้นตอนจัดเตรียมวัตถุดิบ ผลิต จัดสรรแรงงานและกระบวนการทำงานอื่นๆในองค์กร กระบวนการทำงานของระบบ ERP ช่วยให้ผู้บริหารสามารถใช้ทรัพยากรขององค์กรให้เกิดประโยชน์โดยการรับรู้ต้นทุนที่แท้จริงและบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ERP ช่วยในด้านใดแก่ผู้ประกอบการ.jpg

ERP สร้างประโยชน์อะไรให้กับผู้ประกอบการ ?

ทำไมระบบ ERP ถึงสำคัญ ? หากไม่มีระบบที่เป็นศูนย์กลางมาเชื่อมต่อและประมวลข้อมูลต่างๆ อาจส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วในการวางแผนและตัดสินใจขององค์กร ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดต้นทุน องค์กรจึงควรที่จะเลือกใช้ระบบ ERP มาเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนในการทำงาน ประโยชน์ที่จะได้รับจะแตกต่างไปตามลักษณะขององค์กร ตัวอย่าง เช่น

1. มีกระบวนการทำงานที่ง่ายและโปร่งใสขึ้น

ข้อมูลต่างๆของแต่ละกระบวนการทำงานรวมอยู่ในระบบ ERP ต่อให้ท่านอยู่ที่สำนักงานใหญ่ ก็สามารถตรวจดูข้อมูลการผลิตของโรงงานที่ตั้งอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ หรือแม้กระทั่งข้อมูลการขายและข้อมูลของคลังสินค้าก็ยังสามารถดูได้แบบ Real time โดยข้อมูลทุกอย่างจะแสดงตามลำดับดับสิทธิการเข้าถึงของแต่ละแผนกหรือผู้บริหารแต่ละคน

2. เชื่อมต่อระบบระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business intelligence) เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมข้อมูลได้อย่างง่ายดาย

ERP มีข้อมูลที่แม่นยำที่ใช้ในการวางแผนและตัดสินใจ สามารถเชื่อมต่อเครื่องมือ Business intelligence (BI) เพื่อกำหนดมุมมองการวิเคราะห์ได้เอง และสามารถออกเป็นรายงานสถิติแบบไดนามิกได้

3. การจัดการและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

เมื่อองค์กรของท่านต้องจัดการข้อมูลที่เป็นความลับจำนวนมาก ระบบ ERP เพียงระบบเดียวสามารถรวบรวมข้อมูลที่สำคัญทั้งหมดมารวมอยู่ในที่เดียวกันและสามารถทำการสำรองหรือ Backup ข้อมูลที่ใดก็ได้ อีกทั้งยังง่ายต่อการจัดการพื้นที่จัดเก็บอีกด้วย

4. การตั้งค่าที่ยืดหยุ่นและสามารถใช้งานได้กับธุรกิจที่หลากหลาย

ถึงแม้ว่าวิธีการใช้งานระบบ ERP ที่ง่ายที่สุดคือการนำระบบสำเร็จรูปไปใช้โดยตรงและไม่จำเป็นต้องปรับแต่งเพิ่มก็สามารถใช้ได้  แต่ในความเป็นจริงแล้วมีองค์กรมากมายที่มีรูปแบบการทำงานและการบริหารจัดการที่เป็นแบบเฉพาะของตัวเอง ArgoERP จึงพัฒนาให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าการใช้งานได้เอง เช่น การปรับแต่งฟังก์ชั่น การแจ้งเตือน(email) การตรวจสอบและการควบคุม เป็นต้น ทำให้ระบบ ERP สำเร็จรูปนี้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

5. ทำงานผ่านส่วนต่อขยายได้ทุกที่

การใช้ระบบ ERP ไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่แต่เพียงหน้าคอมพิวเตอร์ถึงจะใช้ได้ ผู้ใช้สามารถใช้งานผ่านส่วนต่อขยายได้ทุกที่เมื่อนำติดตัวไปด้วย เช่น หน้าเว็บ แอพพลิเคชั่น หรือหน้าจอดิจิตอลอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถอนุมัติการเข้างานของแผนกบุคคล ตรวจสอบการสั่งซื้อของฝ่ายขายและข้อมูลฝ่ายผลิต หรือสร้าง QR Code สำหรับข้อมูลคลังสินค้าได้อีกด้วย และยังมีความสามารถอื่นๆตามกระบวนการทำงานขององค์กรที่สามารถทำได้อีกมากมาย

6. บริการอัพเดทซอฟต์แวร์

ระบบ ERP ต้องคอยอัพเดทเวอร์ชั่นให้ทันสมัยตลอดเวลา เพื่อให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงด้านหลักบัญชีสากลและหลักกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศผู้ใช้ พร้อมทีมงานบริการลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับระบบได้อย่างดีเยี่ยม

7. ได้ผลลัพธ์ตามความคาดหวังของผู้ประกอบการ

ด้วยโครงสร้างของระบบ ERP ที่สามารถตรวจสอบได้ กรอบการทำงานของระบบ ERP จะควบคุมกระบวนการมาตรฐานที่บริษัทควรปฏิบัติตาม(ที่กำหนดไว้)ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น และสร้างงบการเงินต่างๆ เพื่อการอ้างอิงให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก

ERP มีกระบวนการทำงานที่ง่ายและโปร่งใสขึ้น ERP มีการตั้งค่าที่ยืดหยุ่น
ERP เชื่อมต่อ BI ERP บริการอัพเดทซอฟต์แวร์
ERP มีการจัดการและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ERP ให้ผลลัพธ์ตามความคาดหวังของผู้ประกอบการ

จะรู้ได้อย่างไรว่าองค์กรของคุณต้องการระบบ ERP หรือไม่ ?

หากองค์กรของคุณมีสถานการณ์ดังต่อไปนี้ แสดงว่าคุณอาจจะต้องใช้ระบบ ERP มาช่วยในการบริหารจัดการกระบวนการทำงานขององค์กร

  1. ข้อมูลคลังสินค้าเกิดความผิดพลาดหรือไม่? ตรงกับที่ซื้อ/ขายออกไปหรือไม่?
  2. การทำงานปัจจุบันของพนักงานในองค์กรไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำงานไม่เป็นขั้นตอน เช่น การทำงานของแผนกหนึ่งมากจนเกินไปในขณะที่แผนกสองไม่มีงานเลย แต่มีความสัมพันธ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกัน
  3. ต้องใช้ซอฟแวร์หรือระบบหลายๆตัวในการดำเนินงานจึงจะสามารถสรุปข้อมูลออกมาได้หรือสรุปออกมาแล้วข้อมูลไม่ตรงกัน
  4. ไม่สามารถออกรายงานผลประกอบการได้แบบทันที
  5. ซอฟแวร์ที่ใช้อยู่ไม่สามารถรองรับความต้องการของงานในบริษัทได้
  6. ต้องเลียนแบบกระบวนการทำงานของบริษัทอื่นเพื่อมาปรับปรุงกระบวนการภายในของบริษัทตัวเอง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : 0633253640

หรือ 02-6863000 ต่อ 3042

Email: support@aresth.co.th