ระบบจัดการอุปกรณ์การผลิตของระบบ MES

เสริมศักยภาพเพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างราบรื่น

     กระแสอุตสาหกรรม 4.0 ที่มีรูปแบบการผลิตปริมาณน้อยแต่หลากหลายนั้นส่งผลกระทบต่อโรงงานในปัจจุบันอย่างมาก แม้กระทั่งเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมที่ใช้ในการผลิตก็มีความสำคัญไม่ต่างกัน ระบบจัดการอุปกรณ์เสริมของระบบปฏิบัติการในกระบวนการผลิตโดยอาศัยการเชื่อมต่อกับ ระบบ ciMES ของ ARES ช่วยบริหารจัดการอุปกรณ์เสริมของโรงงานในรูปแบบอัจฉริยะ เพื่อช่วยลดอัตราความผิดพลาดในการใช้งานอุปกรณ์เสริม ลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งคงคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีความเสถียร

     เนื่องจากรายการอุปกรณ์เสริมมีหลากหลายประเภท เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจะมีภาระงานที่หนักยิ่งหากต้องควบคุมตรวจสอบรายการต่าง ๆ ทั้งหมด ดังนั้น ผู้บริหารจึงต้องพิจารณาว่าอุปกรณ์เสริมประเภทใดที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษ ควบคุมเฉพาะปริมาณรวม หรือไม่ต้องควบคุมเลย หลักการพิจารณาสามารถอ้างอิงตามข้อเสนอแนะ 2 ประการ ดังนี้

  1. อุปกรณ์เสริมมูลค่าสูง เช่น เครื่องอัดรีดในอุตสาหกรรมการผลิตเส้นใย ซึ่งผลิตจากโลหะมีค่า เช่น แพลตินัม หรือโรเดียม เพื่อให้มีคุณสมบัติทนต่ออุณหภูมิสูง ราคาจึงค่อนข้างสูง ดังนั้นต้องควบคุมอุปกรณ์เสริมทุกชิ้นอย่างเคร่งครัด
  2. อุปกรณ์เสริมที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและประสิทธิภาพ เช่น เครื่องมือช่วยในการผลิต อาทิ ใบมีด เครื่องมือตรวจสอบที่ใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปโลหะ โดยทั้งความแข็ง รูปร่าง ขนาดของใบมีด ล้วนส่งผลกระทบต่อความเร็วในการแปรรูป การใช้ใบมีดที่เหมาะสมจึงช่วยเพิ่มผลิตภาพและคุณภาพในการผลิตให้สูงขึ้นได้

Smart factory

การบริหารจัดการอุปกรณ์เสริมตามพื้นที่การปฏิบัติงาน

การปฏิบัติงานคลังพัสดุ

  • จัดทำข้อมูลอุปกรณ์เสริมในระบบ MES : ข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำข้อมูลอุปกรณ์เสริมประกอบด้วยแหล่งที่มาของอุปกรณ์เสริม อุปกรณ์ที่ใช้ การจัดการต้นทุน ตำแหน่งการจัดเก็บ รูปแบบการดูแลรักษา
  • พิมพ์ฉลากอุปกรณ์เสริม : ใช้บาร์โค้ดหรือรหัส QR บนฉลากมาร่วมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อให้เกิดการจัดการที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ
  • การเบิกใช้อุปกรณ์เสริม : พนักงานคลังพัสดุเบิกใช้อุปกรณ์เสริมตามรายการและจำนวนที่ระบุในแผนการผลิต
  • การส่งคืนอุปกรณ์เสริม : พนักงานคลังพัสดุนำอุปกรณ์เสริมคืนเข้าคลังพัสดุตามรายการและจำนวนที่ระบุในใบส่งคืนอุปกรณ์เสริม ไม่ว่าอุปกรณ์เสริมนั้นจะเป็นการเบิกเกินจำนวนหรือถอดเปลี่ยนจากสายการผลิตโดยหน่วยงานที่ยื่นคำร้อง ต้องนำเข้าคลังพัสดุทั้งหมด จากนั้นให้พนักงานคลังพัสดุดำเนินการต่อไป เช่น การจำหน่ายทิ้ง การซ่อม การบำรุงรักษา เป็นต้น
  • การจำหน่ายทิ้ง/การยกเลิกการจำหน่ายทิ้งอุปกรณ์เสริม : สามารถจัดการได้ทั้งของเก่าหรือของที่ชำรุด  

การปฏิบัติงานสายการผลิต

  • จัดทำใบเบิกใช้อุปกรณ์เสริมในระบบ MES : หน่วยงานที่ยื่นคำร้องจัดทำใบเบิกใช้อุปกรณ์เสริมตามความต้องการในระบบ รายละเอียดประกอบด้วยรายการและจำนวน จากนั้นพิมพ์หลักฐาน เมื่อหัวหน้าลงนามอนุมัติแล้ว จึงนำไปเบิกจากคลังพัสดุ
  • การติดตั้งอุปกรณ์เสริม : ติดตั้งอุปกรณ์เสริมบนเครื่องจักรการผลิต โดยใช้ระบบ ciMes ตรวจสอบว่าอุปกรณ์เสริมนี้ใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่เครื่องจักรนี้กำลังผลิตได้หรือไม่ ซึ่งช่วยหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการผลิตโดยใช้อุปกรณ์เสริมที่ไม่เหมาะสม
  • ยกเลิกการติดตั้งอุปกรณ์เสริม : หากติดตั้งอุปกรณ์เสริมผิดเครื่อง สามารถยกเลิกการติดตั้งได้
  • การนำอุปกรณ์เสริมออก : นำอุปกรณ์เสริมออกด้วยฟังก์ชันนี้ เนื่องจากอุปกรณ์เสริมสิ้นอายุการใชช้งาน ชำรุดเสียหาย เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ
  • ใบส่งคืนอุปกรณ์เสริม : นำอุปกรณ์เสริมส่งคืนคลังพัสดุ

การปฏิบัติงานซ่อม : ลดต้นทุนอุปกรณ์เสริมด้วยการซ่อม

  • เริ่มการซ่อมอุปกรณ์เสริม
  • เสร็จสิ้นการซ่อมอุปกรณ์เสริม

การบำรุงรักษาอุปกรณ์เสริม : ยืดอายุการใช้งานและคงสมรรถนะอุปกรณ์เสริมด้วยการบำรุงรักษา

  • กำหนดนิยามรายการบำรุงรักษาอุปกรณ์เสริมในระบบ MES
  • วางแผนรอบรายการบำรุงรักษา
  • เริ่มการบำรุงรักษาอุปกรณ์เสริม
  • เสร็จสิ้นการบำรุงรักษาอุปกรณ์เสริม

     ที่กล่าวไปข้างต้น คือ รูปแบบการจัดการด้วยระบบ MES โดยใช้บุคลากรเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานตามอุดมคติภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการอัจฉริยะตามแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 เมื่อฝ่ายแผนการผลิตออกใบงานแล้ว ระบบต้องสามารถค้นหารายการอุปกรณ์เสริมที่สอดคล้องกับการผลิตของใบงานนี้ได้ล่วงหน้า โดยใช้ตรรกะการค้นหาแบบอัจฉริยะตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น สินค้าที่ต้องการผลิต สถานะจริงของอุปกรณ์เสริม (ใช้ได้หรือไม่ ขนาด การดูแลรักษา อายุ และข้อมูลอื่น ๆ) พร้อมแจ้งเตือนให้พนักงานคลังพัสดุจัดเตรียมล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการเตรียมงาน และลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดในการเบิกใช้อุปกรณ์เสริมได้

Smart factory 01.jpgแน่นอนว่าหากมีความพร้อมทางสภาพแวดล้อมและงบประมาณ ประกอบกับแนวโน้มการใช้งานระบบออโตเมชันในโรงงานอัจฉริยะ ภาพฝันของการใช้รถอัตโนมัติไร้คนขับเพื่อขนส่งอุปกรณ์เสริมไปวางไว้ข้างเครื่องที่จะติดตั้ง จากนั้นให้หุ่นยนต์ติดตั้งอุปกรณ์เสริมบนเครื่อง จะไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป 

สำหรับการจัดการอุปกรณ์เสริมที่ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาด้านคุณภาพและการผลิตจากการใช้งานไม่เหมาะสม เมื่อเทียบอุปกรณ์เสริมกับเครื่องจักรแล้วอาจดูเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญมากนัก แต่หามีระบบจัดการอุปกรณ์เสริมที่ดี ผลลัพธ์ที่ได้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริหารของโรงงานและธุรกิจ ทั้งยังคุ้มค่าแก่การลงมือปฏิบัติ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : 0633253640
หรือ 02-6863000 ต่อ 3042